Translate

วันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

i trading ผู้เชี่ยวชาญการนำเข้า-ส่งออกสินค้า ไป AEC


i trading ผู้เชี่ยวชาญการนำเข้า-ส่งออกสินค้า ไป AEC ต้องการสินค้าไทย ที่มีคุณภาพจำนวนมาก
เปิดตลาด #CLMV

CLMV เป็นอีกคำหนึ่งที่ต้องรู้จักเมื่อพูดถึง AEC เพราะเป็นคำที่มีการใช้กันแพร่หลายและถูกกล่าวขวัญถึงอย่างมากในขณะนี้ เนื่องจาก CLMV เป็นกลุ่มประเทศที่มีแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงในระดับ 5-7% ในช่วง 5-10 ปีข้างหน้า ที่ดีอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่มีความอุดมสมบูรณ์ และยังเป็นแหล่งแรงงานวัยหนุ่มสาวราคาถูก CLMV จึงเป็นทั้งแหล่งผลิตและตลาดใหม่ที่น่าสนใจในปัจจุบันและอนาคตด้วยขนาดประชากรรวมกันทั้งสิ้นประมาณ 180 ล้านคน กับรายได้ต่อคนต่อปีในปัจจุบันเฉลี่ยประมาณ 700-2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 2.5-7.2 หมื่นบาทต่อปี แต่ในอนาคตจะมีอำนาจซื้อมากขึ้นเป็นลำดับ ทำให้ไทยต้องทำความเข้าใจและสนใจกลุ่ม CLMV อย่างมาก เพราะผู้คนใน CLMV ส่วนใหญ่รู้จักไทยและนิยมสินค้าไทยมากอยู่แล้วในปัจจุบัน แต่เรายังรู้จัก CLMV น้อยเกินไป




C  = Cambodia
L  = Laos
M = Myanmar
V  = Vietnam

        CLMV ย่อมาจาก Cambodia-Laos-Myanmar-Vietnam เป็นกลุ่มประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียน 4 ประเทศ ที่เข้าเป็นสมาชิกอาเซียนหลังสุดตั้งแต่ปี 2538 เป็นต้นมา ได้แก่ 
กัมพูชา (ปี 2542) 
ลาว (ปี 2540) 
เมียนมา (ปี 2540) 
และเวียดนาม (ปี 2538) ปัจจุบัน CLMV เป็นกลุ่มประเทศใน AEC ที่ได้รับความสนใจอย่างมากจากประเทศต่างๆ เนื่องจากเป็นประเทศที่ยังไม่ได้มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมมากนัก จึงเป็นกลุ่มประเทศที่กำลังเร่งการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจให้ทัดเทียมประเทศเพื่อนบ้านอื่นใน AEC
ปัจจัยดึงดูดการลงทุนเข้ามายังประเทศ CLMV ที่สำคัญ คือ ศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจของกลุ่ม CLMV ที่มีระดับการเติบโตสูงเฉลี่ยได้ประมาณ 5-7% ในช่วง 5-10 ปีข้างหน้า นอกจากนี้ สภาพภูมิศาสตร์ สังคม และวัฒนธรรม ที่มีความคล้ายคลึงกัน ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรในประเทศ จำนวนประชากรส่วนใหญ่ที่อยู่ในวัยหนุ่มสาวก็ล้วนส่งผลให้มีแรงงานที่เพียงพอ และการบริโภคสินค้าและบริการต่างๆ เพิ่มสูงขึ้น ขณะเดียวกันการที่ประเทศกลุ่มนี้เปิดโอกาสให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนมากขึ้นและเป็นแหล่งแรงงานที่มีค่าจ้างไม่สูงมากนัก ทำให้เศรษฐกิจในประเทศ CLMV มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อการจ้างงานแรงงานท้องถิ่นและกำลังซื้อของประชากรเพิ่มขึ้น
CLMV ถูกมองว่าเป็นฐานการผลิตที่สำคัญในปัจจุบัน โดยเฉพาะการผลิตที่เน้นการใช้ทรัพยากรวัตถุดิบและแรงงานราคาไม่สูง และเป็นฐานการตลาดในอนาคตเนื่องจากประชาชนคนชั้นกลางของประเทศเหล่านี้จะมีมากขึ้นในอนาคต ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยจึงควรมองหาโอกาสและตลาดใหม่ๆ ในการทำธุรกิจกับประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มประเทศ CLMV ตามกระแสนักลงทุนนานาชาติ พร้อมกับศึกษากฎระเบียบทางการค้าและการลงทุนต่างๆ ในกลุ่ม CLMV เพราะโอกาสทางการค้าและการลงทุนยังเปิดกว้างอยู่มาก.
คอลัมน์: เกาะติดเศรษฐกิจ:
ข่าวเศรษฐกิจ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ติดตาม
http://www.facebook.com/itradingasia/

วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

สัมมนาฟรี เตรียมความพร้อมสู่ Aec 2/2559 @สิงห์บุรี




สัมมนาฟรี เตรียมความพร้อมผู้ประกอบการ SME /OTOP ทั่วไทย  ที่ต้องการเตรียมความพร้อมสู่การจำหน่ายสินค้าต่างประเทศกลุ่ม CLMV หรือ ลาวและเวียดนาม ร่วมงานสัมมนาฟรี 
"เตรียมความพร้อมสู่ AEC" ในวันที่ 15 กรกฏาคม 2559 ณ เกษราเบเกอรี่ จังหวัดสิงห์บุรี ตั้งแต่เวลา 13.00 น. เป็นต้นไป
- สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการเสนอขายสินค้าไปยังประเทศเวียดนาม ให้นำภาพสินค้า พร้อมราคาเสนอขาย ราคาส่ง เรทอัตราการขายเป็นจำนวน มาเพื่อนำไปเสนอขายยังประเทศเวียดนาม
- สินค้าที่เสนอขาย กรณีเป็นอุปโภค บริโภค ต้องมี อย. หรือมาตรฐานที่ต่างๆ กรณีไม่มีเป็นสินค้าโอทอป สามารถมาปรึกษา ได้ 
- โอกาสเป็นของคุณ ขายต่างประเทศไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด มาเรียนรู้ก่อนคนอื่น แล้วพบกันวันที่ 15 กรกฏาคม 2559 นี้

ลงทะเบียน/สำรองที่นั่ง
คุณรัตนา 08-0648-3434
คุณภริสา 06-2468-4646

ลงทะเบียน/รายละเอียด
https://www.facebook.com/events/1657440371245661/

กิจกรรมที่จัดมาแล้ว 
สัมมนาฟรี ส่งเสริม Sme ให้มีโอกาสเข้าสู่ Aec ครั้งที่1 ปี2559 @สิงห์บุรี



แผนที่
เกษรา เบเกอรี่ เค้กปลาช่อน
https://goo.gl/maps/Xznsfu3Zmj52

Tags: CLMV, AEC, สืงห์บุรี, เกษราเบเกอรี่, เค้กปลาช่อน, OTOP, ลาว, เวียดนาม สัมมนาฟรี, อบรมฟรี

วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

AEC หรือ Asean Economics Community คืออะไร


AEC หรือ Asean Economics Community คือการรวมตัวของชาติใน Asean 10 ประเทศ โดยมี ไทย, พม่า, ลาว, เวียดนาม, มาเลเซีย, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, กัมพูชา, บรูไน เพื่อที่จะให้มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน จะมีรูปแบบคล้ายๆ กลุ่ม Euro Zone นั่นเอง จะทำให้มีผลประโยชน์, อำนาจต่อรองต่างๆ กับคู่ค้าได้มากขึ้น และการนำเข้า ส่งออกของชาติในอาเซียนก็จะเสรี ยกเว้นสินค้าบางชนิดที่แต่ละประเทศอาจจะขอไว้ไม่ลดภาษีนำเข้า (เรียกว่าสินค้าอ่อนไหว)
Asean จะรวมตัวเป็น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและมีผลเป็นรูปธรรม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 ณ วันนั้นจะทำให้ภูมิภาคนี้เปลี่ยนไปอย่างมากอย่างที่คุณคิดไม่ถึงทีเดียว
AEC Blueprint (แบบพิมพ์เขียว) หรือแนวทางที่จะให้ AEC เป็นไปคือ
1. การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน
2.การเป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง
3. การเป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน
4. การเป็นภูมิภาคที่มีการบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก
โดยให้แต่ละประเทศใน AEC ให้มีจุดเด่นต่างๆ ดังนี้
จุดเด่นของ 10 ประเทศอาเซียน



1. ประเทศอินโดนีเซีย
 
ประเด็นที่น่าสนใจคือ การลงทุนส่วนใหญ่ในประเทศนี้เน้นทรัพยากรในประเทศเป็นหลัก ส่วนจุดแข็งนั้น แน่นอน เมื่อเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดในประเทศสมาชิกฯ (จำนวนประชากรมากเป็นอันดับ 4 ของโลกและอันดับหนึ่งใน ASEAN) อินโดนีเซียก็กลายเป็นตลาดขนาดใหญ่ที่มีจำนวนผู้บริโภค (และเป็นมุสลิม) มากที่สุด มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุด มีทรัพยากรธรรมชาติจำนวนมาก และมีระบบธนาคารที่ค่อนข้างแข็งแกร่ง แต่จุดอ่อนของประเทศนี้คือการที่ประเทศเป็นหมู่เกาะ ระบบสาธารณูปโภคและการคมนาคมก็ยังต้องพัฒนาต่อไป
 

2. ประเทศสิงคโปร์
 
สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีอัตรารายได้เฉลี่ยต่อหัวมากที่สุดในกลุ่มสมาชิกฯ ตอนนี้ทางสิงคโปร์กำลังเน้นการขยายระบบเศรษฐกิจมายังภาคบริการมากขึ้น และลดการพึ่งพาการส่งออกสินค้า ข้อได้เปรียบของสิงคโปร์ คือตำแหน่งที่ตั้งของประเทศ อยู่ในจุดยุทธศาสตร์เป็นศูนย์กลางการเดินเรือ (เอื้อต่อการขนส่ง) ศูนย์การการเงินระหว่างประเทศ รวมถึงการที่แรงงานที่มีทักษะ มีการศึกษาและภาษาดี ตบท้ายด้วยการเมืองมีเสถียรภาพ และจุดอ่อนคือ เนื่องจากมีประชากรน้อยและเป็นแรงงานที่มีทักษะ สิงคโปร์จะขาดแรงงานที่เป็นแรงงานระดับล่างและมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจหรือค่าครองชีพค่อนข้างสูง
 
 
3. ประเทศกัมพูชา
 
กัมพูชาเป็นประเทศที่มีค่าจ้างแรงงานต่ำที่สุดในอาเซียน (USD 1.6/วัน) สำหรับไทยนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศก็เป็นกุญแจสำคัญดอกหนึ่งที่อาจจะเป็นได้ทั้งการสนับสนุนและบั่นทอนโอกาสในการร่วมมือ ขยายการค้า หรือการลงทุนต่างๆ จุดแข็งของกัมพูชานอกจากเรื่องค่าแรงต่ำแล้ว  ประเทศนี้ยังอุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลายและอุดมสมบูรณ์ ไม่ว่าจะเป็น แร่ธาตุ หรือป่าไม้ ส่วนเรื่องที่ต้องพัฒนาปรับปรุงต่อไปคือ เรื่องระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานที่ยังให้บริการได้ไม่ทั่วถึงและมีต้นทุนค่อนข้างสูง และการขาดแรงงานที่มีทักษะ
 

4. ประเทศเวียดนาม
 
เวียดนามเป็นประเทศที่มีค่าจ้างแรงงานต่ำที่สุดเป็นอันดับ 2 ในกลุ่มสมาชิก (รองจากกัมพูชา) สิ่งที่น่าจับตามองของเวียดนามคือการเติบโตและพัฒนาอย่างรวดเร็วในแทบทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ ความต้องการภายในประเทศ รายได้ที่เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งเรื่องสิทธิและเสรีต่างๆ เวียดนามมีจุดแข็งที่การเมืองที่ค่อนข้างนิ่งและมีเสถียรภาพ ประชากรจำนวนมากซึ่งถือเป็นตลาดที่ใหญ่ มีปริมาณน้ำมันสำรองมาก (อันดับ2 ของอาเซียน) และมีแนวชายฝั่งทะเลยาวมากกว่า 3,000 กิโลเมตร ส่วนเรื่องที่ยังคงต้องกังวลอยู่คือระบบสาธารณูปโภคที่ยังต้องการการพัฒนาและราคาค่าที่ดินและค่าเช่าสำนักงานซึ่งยังถือว่าสูงมากทีเดียว
 
 
5. ประเทศลาว
 
ประเด็นที่น่าสนใจสำหรับลาวคือการลงทุนทางด้านสาธารณูปโภค โครงสร้างพื้นฐาน พลังงานน้ำ และเหมืองแร่ เพราะที่ประเทศนี้อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ โดยเฉพาะ น้ำ และ แร่ธาตุค่ะ การเมืองที่นี่ก็นิ่งและมีเสถียรภาพ บวกกับค่าแรงต่อหัวที่ยังถือว่าต่ำ (USD 2.06/วัน) ส่วนเรื่องที่อาจจะเป็นอุปสรรคต่อการลงทุนหรือการติดต่อต่างๆคือประเทศลาวไม่มีทางออกที่ติดกับทะเลเลย รวมถึงภูมิประเทศที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาและที่ราบสูง ซึ่งจะมีผลต่อการขนส่ง รวมถึงระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานที่ยังคงต้องได้รับการพัฒนาอยู่

 
6. ประเทศพม่า
 
พม่ากำลังทุ่มสุดตัวกับการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคและเครือข่ายคมนาคมภายในและเชื่อมต่อภายนอกประเทศ ไม่ว่าจะเป็น รถไฟความเร็วสูง ถนนต่างๆ และท่าเรือ เพื่อรองรับความต้องการและการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่มากขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ ถ้าพูดเรื่องค่าแรง พม่ายังจัดอยู่ในประเทศที่มีค่าแรงต่อหัวค่อนข้างต่ำ (USD2.5/วัน) แถมยังความได้เปรียบทางภูมิประเทศและเพื่อนบ้าน โดยมีพรมแดนเชื่อมโยงกับประเทศจีนและอินเดีย  ส่วนเรื่องทรัพยากรธรรมชาติก็ยังมีอยู่มากมาย รวมถึงแหล่งพลังงานอย่าง ก๊าซธรรมชาติและน้ำมันด้วย จุดที่ต้องระวัง ก็น่าจะเป็นเรื่องนโยบายในหลายๆด้านและความไม่แน่นอนทางการเมือง บวกกับสาธารณูปโภคที่ยังต้องพัฒนาอยู่

  
7.ประเทศฟิลิปปินส์
 
เป็นอีกประเทศที่มีลักษณะทางภูมิประเทศเป็นเกาะ แก่ง น้อยใหญ่ จุดเด่นของประเทศนี้คือสหภาพแรงงานที่มีบทบาทมาก มีการประท้วงเกี่ยวกับเรื่องค่าแรงอยู่เรื่อยๆ การลงทุนส่วนใหญ่จะเน้นหนักไปทางตอบสนองความต้องการภายในประเทศ เนื่องจากฟิลิปปินส์มีจำนวนประชากรจำนวนมาก (มากกว่า 100 ล้านคน ติดอันดับที่ 12 ของโลก) ทำให้เป็นตลาดที่น่าสนใจและมีขนาดใหญ่มาก จุดแข็งอีกเรื่องของประเทศนี้คือประชากร (หรือมองอีกแง่คือแรงงาน) แทบจะทั้งประเทศสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษ ที่เป็นภาษากลางของประชาคมอาเซียน (AEC) ได้ดี ส่วนจุดอ่อนของฟิลิปปินส์คือที่ตั้งของประเทศที่ค่อนข้างห่างไกลจากประเทศสมาชิกอื่นๆ ระบบโครงสร้างพื้นฐานและสวัสดิภาพทางสังคมที่ยังต้องการการพัฒนาอยู่ 
 
8. ประเทศบรูไน
 
บรูไน- ประเทศที่คนไทยหลายคน (รวมถึงแอดมินด้วย)ไม่ค่อยจะรู้สึกคุ้นชินมากนัก ทำให้ไม่ค่อยได้ทราบข้อมูลหรือติดตามข่าวอัพเดตต่างๆในเชิงลึก เพื่อนๆหลายคนอาจจะไม่ทราบว่า บรูไนเป็นประเทศที่มีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจใกล้ชิดกับประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ (สองประเทศแรกเข้าใจว่าเพราะเป็นประเทศที่นับถือศาสนาอิสลามเหมือนกัน) ส่วนสิงคโปร์จะเป็นหลักในการส่งสินค้าระหว่างประเทศให้กับบรูไน ที่สำคัญประเทศนี้ให้ความสำคัญกับความมั่นคงทางอาหารค่อนข้างมากเลยทีเดียว ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากการที่เป็นประเทศที่เป็นผู้ผลิต-ส่งออกน้ำมันและมีปริมาณน้ำมันสำรองรายใหญ่ในภูมิภาคอาเซียน  บรูไนมีรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีมากเป็นอันดับ 2 รองจากสิงคโปร์ และมีเสถียรภาพทางการเมืองที่มั่นคง ที่กล่าวมานี้นับเป็นจุดแข็งของบรูไน ในขณะที่เรื่องที่ถือว่าน่าจะเป็นจุดอ่อนของบรูไน คือ ขนาดตลาดของประเทศนี้ถือว่าเล็กมาก เพราะมีจำนวนประชากรอยู่แค่สี่แสนคนเท่านั้น และปัญหาขาดแคลนแรงงานที่ตามมาเป็นลูกโซ่
 
 9. ประเทศมาเลเซีย
 
เป็นประเทศที่มีรายได้ต่อหัวต่อปีมากเป็นอันดับสาม รองจากสิงคโปร์และบรูไน สิ่งที่น่าสนใจสำหรับประเทศนี้คือ มาเลเซียตั้งเป้าให้ในอีก 8 ปีข้างหน้าจะกลายเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ประเทศนี้มีฐานการผลิตและสินค้าส่งออกหลายอย่างที่คล้ายคลึงกับไทย และมีนโยบายการผลิตด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงอย่างจริงจัง นอกจากนี้ ข้อเด่นของมาเลเซียคือ ความได้เปรียบเรื่องพลังงาน จำนวนปริมาณน้ำมันสำรองและก๊าซธรรมชาติที่มีอยู่มาก  ระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ครบวงจร รวมไปถึงแรงงานที่มีทักษะ ส่วนจุดอ่อนก็จะคล้ายๆกับของประเทศบรูไนคือการที่จำนวนประชากรน้อยและปัญหาการขาดแคลนแรงงานโดยเฉพาะแรงงานระดับล่าง
 
 
10. ประเทศไทย
 
ปิดท้ายด้วยไทยแลนด์ แดนสยาม ประเทศอันเป็นที่รักของเราเอง ประเทศไทยตั้งเป้าเป็น Hub หรือเป็นศูนย์กลางของอาเซียนในหลายๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นโลจิสติกส์ หรือการท่องเที่ยว จุดแข็งของประเทศเรา คือมีระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานทั่วถึง ที่ตั้งและภูมิประเทศเอื้อต่อการเป็นศูนย์กลางคมนาคมในภูมิภาค ระบบธนาคารค่อนข้างแข็งแข็ง ขนาดของตลาดใหญ่ มีแรงงานจำนวนมาก รวมถึงการที่เป็นฐานการผลิตสินค้าเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมรายใหญ่ของโลกเลยทีเดียว แต่จุดอ่อนยังคงอยู่ที่แรงงานส่วนใหญ่ยังขาดทักษะ เทคโนโลยีในการผลิตส่วนใหญ่ยังเป็นขั้นกลาง และระดับความรู้และการใช้ภาษากลาง (อังกฤษ) ที่อาจทำให้เสียเปรียบด้านการแข่งขันสำหรับแรงงานเมื่อมีการเปิดเสรีแล้ว

การเปลี่ยนแปลงที่จะเห็นได้ชัดๆใน AEC โดยอธิบายให้เห็นภาพเข้าใจง่ายๆ เช่น
– การลงทุนจะเสรีมากๆ คือ ใครจะลงทุนที่ไหนก็ได้ ประเทศที่การศึกษาระบบดีๆ ก็จะมาเปิดโรงเรียนในบ้านเรา อาจทำให้โรงเรียนแพงๆแต่คุณภาพไม่ดีต้องปรับตัว ไม่เช่นนั้นอาจจะสู้ไม่ได้
– ไทยจะเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยว และการบินอย่างไม่ต้องสงสัย เพราะว่าอยู่กลาง Asean และไทยอาจจะเด่นในเรื่อง การจัดการประชุมต่างๆ, การแสดงนิทรรศการ, ศูนย์กระจายสินค้า และยังเด่นเรื่องการคมนาคมอีกด้วยเนื่องจากอยู่ตรงกลางอาเซียน และการบริการด้านการแพทย์และสุขภาพจะเติบโตอย่างมากเช่นกันเพราะ จะผสมผสานส่งเสริมกันกับอุตสาหกรรรมการท่องเที่ยว (ค่าบริการทางการแพทย์ของประเทศต่างชาติจะมีราคาสูงมากหากเทียบแกับประเทศไทย)
– การค้าขายจะขยายตัวอย่างน้อย 25% ในส่วนของอุตสาหกรรมบางอย่าง เช่น รถยนต์, การท่องเที่ยว, การคมนาคม, แต่อุตสาหกรรมที่น่าห่วงของไทยคือ ที่ใช้แรงงานเป็นหลักเช่น ภาคการเกษตร, ก่อสร้าง, อุตสาหกรรรมสิ่งทอจะได้รับผลกระทบ เนื่องจากฐานการผลิตอาจย้ายไปประเทศที่ผลิตสินค้าทดแทนได้เช่นอุตสาหกรรมสิ่งทอ โดยผู้ลงทุนอาจย้ายฐานการผลิตจากประเทศไทยไปยังประเทศที่มีค่าแรงถูกกว่า เนื่องด้วยบางธุรกิจไม่จำเป็นต้องใช้ทักษะมากนัก ค่าแรงจึงถูก ( ณ วันที่ 15 ก.ย.56 ค่าแรงหนุ่มสาวโรงงาน ณ ประเทศลาว อยู่ที่ประมาณ 4,000 บาทไทย)
– เรื่องภาษาอังกฤษจะเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก เนื่องจากจะมีคนอาเซียน เข้ามาอยู่ในไทยมากมายไปหมด และมักจะพูดภาษาไทยไม่ค่อยได้ แต่จะใช้ภาษาอังกฤษ (AEC มีมาตรฐานว่าจะใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางเพื่อสื่อสารใน AEC) บางทีเรานึกว่าคนไทยไปทักพูดคุยด้วย แต่เค้าพูดภาษาอังกฤษกลับมา เราอาจเสียความมั่นใจได้   ส่วนสิ่งแวดล้อมนั้น ป้ายต่างๆ หนังสือพิมพ์, สื่อต่างๆ จะมีภาษาอังกฤษมากขึ้น (ให้ดูป้ายที่สนามบินสุวรรณภูมิเป็นตัวอย่าง) และจะมีโรงเรียนสอนภาษามากมาย หลากหลายหลักสูตร
– การค้าขายบริเวณชายแดนจะคึกคักอย่างมากมาย เนื่องจาก ด่านศุลกากรชายแดนอาจมีบทบาทน้อยลงมาก แต่จะมีปัญหาเรื่องยาเสพติด และปัญหาสังคมตามมาด้วย
– เมืองไทยจะไม่ขาดแรงงานที่ไร้ฝีมืออีกต่อไปเพราะแรงงานจะเคลื่อนย้ายเสรี จะมี ชาวพม่า, ลาว, กัมพูชา เข้ามาทำงานในไทยมากขึ้น แต่คนเหล่านี้ก็จะมาแย่งงานคนไทยบางส่วนด้วยเช่นกัน  และยังมีปัญหาสังคม, อาชญากรรม จะเพิ่มขึ้นอีกด้วย อันนี้รัฐบาลควรต้องวางแผนรับมือ
– คนไทยที่ใช้ภาษาอังกฤษได้ บางส่วนจะสมองไหลไปทำงานเมืองนอก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมซอร์ฟแวร์ (ที่จะให้สิงคโปร์เป็นหัวหอกหลัก) เพราะชาวไทยเก่ง แต่ปัจจุบันได้ค่าแรงถูกมาก อันนี้สมองจะไหลไปสิงคโปร์เยอะมาก แต่พวกชาวต่างชาติก็จะมาทำงานในไทยมากขึ้นเช่นกัน อาจมีชาว พม่า, กัมพูชา เก่งๆ มาทำงานกับเราก็ได้ โดยจะใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อกลาง  บริษัท software ในไทยอาจต้องปรับค่าจ้างให้สู้กับ บริษัทต่างชาติให้ได้ ไม่เช่นนั้นจะเกิดภาวะสมองไหล
– อุตสาหกรรมโรงแรม, การท่องเที่ยว, ร้านอาหาร, รถเช่า บริเวณชายแดนจะคึกคักมากขึ้น เนื่องจากจะมีการสัญจรมากขึ้น และเมืองตามชายแดนจะพัฒนามากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากเป็นจุดขนส่ง
– สาธารณูปโภคในประเทศไทย หากเตรียมพร้อมไม่ดีอาจขาดแคลนได้ เช่น ชาวพม่า มาคลอดลูกในไทย ก็ต้องใช้โรงพยาบาลในไทยเป็นต้น
– กรุงเทพฯ จะแออัดอย่างหนัก เนื่องจากมีตำแหน่งเป็นตรงกลางของอาเซียนและเป็นเมืองหลวงของไทย โดยเมืองหลวงอาจมีสำนักงานของต่างชาติมาตั้งมากขึ้น รถจะติดอย่างมาก สนามบินสุวรรณภูมิจะแออัดมากขึ้น (ปัจจุบันมีโครงการที่จะขยายสนามบินแล้ว)
– ไทยจะเป็นศูนย์กลางอาหารโลกในการผลิตอาหาร เพราะ knowhow ในไทยมีเยอะประสบการณ์สูง และบริษัทอาหารในไทยก็แข็งแกร่ง ประกอบทำเลที่ตั้งเหมาะสมอย่างมาก แม้จะให้พม่าเน้นการเกษตร แต่ทางประเทศไทยเองคงไปลงทุนในพม่าเรื่องการเกษตรแล้วส่งออก ซึ่งก็ถือเป็นธุรกิจของคนไทยที่ชำนาญอยู่แล้ว
– ไทยจะเป็นศูนย์การการท่องเที่ยว และคมนาคมอย่างไม่ต้องสงสัย หากผู้ประกอบธุรกิจในไทยที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจนี้ปรับตัวและเตรียมพร้อมดีก็จะได้ประโยชน์จากการเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวและคมนาคม
– ปัญหาสังคมจะรุนแรงถ้าไม่ได้รับการวางแผนที่ดี เนื่องจาก จะมีขยะจำนวนมากมากขึ้น, ปัญหาการแบ่งชนชั้น ถ้าคนไทยทำงานกับคนต่างชาติที่ด้อยกว่า อาจมีการแบ่งชนชั้นกันได้, จะมีชุมชนสลัมเกิดขึ้น และอาจมี พม่าทาวน์, ลาวทาวน์, กัมพูชาทาวน์, ปัญหาอาจญากรรมจะรุนแรง สถิติการก่ออาชญากรรมจะเพิ่มขึ้นอย่างมากจากชนนั้นที่มีปัญหา, คนจะทำผิดกฎหมายมากขึ้นเนื่องจากไม่รู้กฎหมาย

การขนส่งที่จะเปลี่ยนแปลง  East-West Economic Corridor (EWEC)หรือเส้นทางหมายเลข 9 (R9) ชื่อไทยว่า เส้นทางระเบียงเศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันตก
จะมีการขนส่งจากท่าเทียบเรือทางทะเลฝั่งขวาไปยังฝั่งซ้าย เวียดนาม-ไทย-พม่า มีระยะทางติดต่อกันโดยประมาณ 1,300 กม.อยู่ในเขตประเทศไทยถึง 950 กม. ลาว 250 กม. เวียนดนาม 84 กม.เส้นทางเริ่มที่ เมืองท่าดานัง ประเทศเวียดนาม ผ่านเมืองเว้และเมืองลาวบาว ผ่านเข้าแขวงสะหวันนะเขตในประเทศลาว และมาข้ามสะพานมิตรภาพ 2 (มุกดาหาร-สะหวันนะเขต) ข้ามแม่น้ำโขงสู่ไทยที่จังหวัดมุกดาหาร ผ่านจังหวัดกาฬสินธุ์, ขอนแก่น, เพชรบูรณ์, พิษณุโลก สุดที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก จากนั้นเข้าไปยังประเทศพม่าไปเรื่อยๆ ถึงอ่าวเมาะตะมะ ที่เมืองเมาะลำไย หรือมะละแหม่ง เป็นการเชื่อมจากทะเลจีนใต้ไปสู่อินเดีย
เส้นทาง R9 นี้จะทำให้การขนส่งรวมถึง logistic ใน AEC จะพัฒนาอีกมาก และจากาการที่ไทยอยู่ตรงกลางภูมิภาค ทำให้เราขายสินค้าได้มากขึ้นเพราะเราจะส่งของไปท่าเรือทางฝั่งซ้ายของไทยก็ได้ ทางฝั่งขวาก็ได้ ที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ในไทยบริเวณดังกล่าวก็น่าจะมีราคาสูงขึ้นด้วย
และที่พม่ายังมี โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ หรือโครงการ “ทวาย” (ศูนย์อุตสาหกรรมขนาดใหญ่,ท่าเรือขนาดใหญ่ ที่ปัจจุบัน Italian-Thai Development PLC ได้รับสัมปทานในการก่อสร้างแล้ว ปัจจุบันได้หยุดการพัฒนาชั่วคราวเพื่อรอผู้ร่วมลงทุนในการพัฒนาโครงการ ข้อมูล ณ 27 เม.ย.2557) โครงการทวายมีเป้าหมายที่จะสร้างท่าเรือน้ำลึก และนิคมอุตสาหกรรมบนพื้นที่ประมาณ 250 ตารางกิโลเมตร ในภาคใต้ของพม่า ซึ่งมีโครงการก่อสร้างโรงถลุงเหล็ก โรงงานปุ๋ย โรงไฟฟ้าถ่านหิน โรงกลั่นน้ำมัน ในระยะถัดไปอีกด้วย
ซึ่งโครงการทวาย มีที่เส้นทางสอดคล้องกับ East-West Economic Corridor จะกลายเป็นทางออกสู่ทะเลจุดใหม่ที่สำคัญมากต่ออาเซียน เพราะในอดีตทางออกสู่มหาสมุทรอินเดียจำเป็นต้องใช้ท่าเรือของสิงคโปร์เท่านั้น ขณะเดียวกันโปรเจกต์ทวายนี้ยังเป็นต้นทางรับสินค้าจากฝั่งมหาสมุทรอินเดียหรือสินค้าที่มาจากฝั่งยุโรปและตะวันออกกลาง โดยเฉพาะสินค้ากลุ่มพลังงานไม่ว่าจะเป็นน้ำมัน ก๊าซ ซึ่งจะถูกนำเข้าและแปรรูปในโรงงานปิโตรเคมีภายในพื้นที่โปรเจกต์ทวาย เพื่อส่งผ่านไทยเข้าไปยังประเทศกลุ่มอินโดจีนเช่น ลาว กัมพูชา และไปสิ้นสุดปลายทางยังท่าเรือดานังประเทศเวียดนาม และจะถูกส่งออกไปยังเอเชียตะวันออกอย่างญี่ปุ่นและจีน
ทั้งนี้ทั้งนั้น สิ่งที่เราควรจะเตรียมตัวแต่เนิ่นๆ ที่สำคัญตอนนี้คือ ภาษาอังกฤษ อย่างน้อยๆเราก็จะได้สื่อสารกันกับ Asean ได้ เพราะหากสื่อสารไม่ได้ เรื่องอื่นก็คงยากที่จะทำ และกาคิดจะหาลูกค้าแค่ในประเทศไทยก็อาจไม่เพียงพอแล้ว เพราะธุรกิจต่างชาติก็จะมาแย่งส่วนแบ่งการตลาดของเราแน่นอน เรื่อง AEC จึงถือเป็นเรื่องใหญ่ ที่ธุรกิจ และคนไทยต้องปรับตัวและเตรียมพร้อมให้ดี
อ้างอิง
1. www.thai-aec.com
2. www.uasean.com/


Tags:  AEC , Asean ,ไทย, พม่า, ลาว, เวียดนาม, มาเลเซีย, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, กัมพูชา, บรูไน

ประเทศบรูไน เป็นประเทศที่มีประชากร น้อยที่สุดใน AEC 374,577 คน


ประเทศบรูไน

บรูไน (มาเลย์Brunei) หรือ เนการาบรูไนดารุสซาลาม (มาเลย์Negara Brunei Darussalam) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชายฝั่งทางด้านเหนือจรดทะเลจีนใต้ พรมแดนทางบกที่เหลือจากนั้นถูกล้อมรอบด้วยรัฐซาราวัก มาเลเซียตะวันออก
บรูไนเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมันเป็นสินค้าหลัก (ปริมาณการผลิตน้ำมันประมาณ 180,000 บาเรล/วัน) 

ประวัติ


สุสานสุลต่านโบลเกียห์ ใกล้กับเมืองโกตะบาตู
บรูไนเป็นที่รู้จักและมีอำนาจมากในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 โดยมีอาณาเขตครอบครองส่วนใหญ่ของเกาะบอร์เนียวและส่วนหนึ่งของหมู่เกาะซูลู มีชื่อเสียงทางการค้า สินค้าส่งออกที่สำคัญในสมัยนั้น ได้แก่ การบูร พริกไทย และทองคำ
หลังจากนั้นบรูไนเสียดินแดนและเสื่อมอำนาจลงเนื่องจากสเปน และฮอลันดาได้แผ่อำนาจเข้ามา
จนถึงสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในปี พ.ศ. 2431 (ค.ศ. 1888) ด้วยความวิตกว่าจะต้องเสียดินแดนต่อไปอีก บรูไนจึงได้ยินยอมเข้าอยู่ภายใต้อารักขาของอังกฤษ และต่อมาในปี พ.ศ. 2449 (ค.ศ. 1906) บรูไนได้ลงนามในสนธิสัญญายินยอมอยู่เป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษอย่างเต็มรูปแบบ
ในปี พ.ศ. 2472 (ค.ศ. 1929) บรูไนสำรวจพบน้ำมันและแก๊สธรรมชาติที่เมืองเซรีอา ทำให้บรูไนมีฐานะมั่งคั่งในเวลาต่อมา
ในปี พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) ได้มีการเลือกตั้ง ซึ่งพรรคประชาชนบอร์เนียว (Borneo People’s Party) ได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้น แต่ถูกกีดกันไม่ให้จัดตั้งรัฐบาล ต่อมาจึงได้ยึดอำนาจจากสุลต่าน แต่สุลต่านทรงได้รับความช่วยเหลือจากกองทหารกูรข่าที่อังกฤษส่งมาจากสิงคโปร์ หลังจากนั้นได้มีการประกาศภาวะฉุกเฉิน และต่ออายุทุก ๆ 2 ปี เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
หลังจากที่อยู่ภายใต้อารักขาของอังกฤษมาถึง 95 ปี บรูไนก็ได้รับเอกราชเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984)

ระบบการปกครอง


สมเด็จพระราชาธิบดีฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาเลาะห์
รัฐธรรมนูญปัจจุบันซึ่งแก้ไขล่าสุดเมื่อ 1 มกราคม พ.ศ. 2527 กำหนดให้สุลต่านทรงเป็นอธิปัตย์ คือเป็นทั้งประมุข นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม นายกรัฐมนตรีจะต้องเป็นชาวบรูไนเชื้อสายมาเลย์โดยกำเนิด และจะต้องเป็นมุสลิมนิกายซุนนี่ย์นอกจากนี้ บรูไนไม่มีสภาที่ได้รับเลือกจากประชาชน
นโยบายหลักของบรูไน ได้แก่การสร้างความเป็นปึกแผ่นภายในชาติ และดำรงความเป็นอิสระของประเทศ ทั้งนี้ บรูไนมีที่ตั้งที่ถูกโอบล้อมโดยมาเลเซีย และมีอินโดนีเซียซึ่งเป็นประเทศมุสลิมขนาดใหญ่อยู่ทางใต้ บรูไนมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสิงคโปร์ เนื่องจากมีเงื่อนไขคล้ายคลึงกันหลายประการ อาทิ เป็นประเทศเล็ก และมีอาณาเขตติดกับประเทศมุสลิมขนาดใหญ่
นับจากการพยายามยึดอำนาจเมื่อปี พ.ศ. 2505 รัฐบาลได้ประกาศกฎอัยการศึกส่งผลให้ไม่มีการเลือกตั้ง รวมทั้งบทบาทพรรคการเมืองได้ถูกจำกัดอย่างมาก จนปัจจุบันพรรคการเมือง ได้แก่ Parti Perpaduan Kebangsaan Brunei (PPKB) และ Parti Kesedaran Rakyat (PAKAR) ไม่มีบทบาทมากนัก เนื่องจากรัฐบาลควบคุมด้วยมาตรการต่าง ๆ อาทิ กฎหมายความมั่นคงภายในประเทศ (Internal Security Act (ISA)) ห้ามการชุมนุมทางการเมือง และสามารถถอดถอนการจดทะเบียนเป็นพรรคการเมืองได้ ตลอดจนห้ามข้าราชการ (ซึ่งมีเป็นจำนวนกว่าครึ่งของประชากรบรูไนทั้งหมด) เป็นสมาชิกพรรคการเมือง นอกจากนี้ รัฐบาลเห็นว่าพรรคการเมืองไม่มีความจำเป็น เนื่องจากประชาชนสามารถแสดงความคิดเห็นหรือขอความช่วยเหลือจากข้าราชการของสุลต่านได้อยู่แล้ว
เมื่อเดือนกันยายนพ.ศ. 2547 ได้มีการจัดการประชุมของสภาเป็นครั้งแรก ตั้งแต่บรูไนประกาศเอกราช

กองกำลังทหาร

กองทัพของบรูไน (Royal Brunei Armed Forces หรือ RBAF) มีกำลังพลเพียง 7,000 นาย และกำลังสำรอง 700 นาย โดยแบ่งเป็นกองทัพบก 4,900 นาย กองทัพเรือ 1,000 นาย และกองทัพอากาศ 1,200 นาย
อย่างไรก็ดี สุลต่านยังมีกองทหารกูรข่าของพระองค์เอง เรียกว่า Gurkha Reserve Unit (GRU) จำนวน 2,500 นาย และกองทหารกูรข่าของอังกฤษ (British Gurkha) รวมกำลังพล 1,000 คน ประจำอยู่ที่เมืองเซอเรีย เพื่อดูแลรักษาความปลอดภัย ให้แก่บ่อน้ำมัน และกิจการผลิตน้ำมันของ Brunei Shell Petroleum โดยรัฐบาลบรูไนเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย

การแบ่งเขตการปกครอง

Brunei districts english.png
ประเทศบรูไนแบ่งการปกครองระดับบนสุดออกเป็น 4 เขต (daerah) คือ


ภูมิศาสตร์

ภูมิประเทศบรูไน
บรูไนประกอบด้วย 2 ส่วนที่ไม่ติดกันคือด้านตะวันตกและตะวันออกโดยที่ประชากรร้อยละ 97 อาศัยอยู่ในส่วนด้านตะวันตก และมีประชากรเพียงประมาณ 10,000 คนที่อาศัยอยู่ในด้านตะวันออก ซึ่งมีภูเขาเป็นจำนวนมาก และเป็นที่ตั้งของเขตเติมบูรง เมืองหลัก ๆ ของบรูไนคือเมืองหลวงบันดาร์เสรีเบกาวัน เมืองท่ามัวรา และเซอเรีย
ภูมิอากาศในบรูไนเป็นภูมิอากาศเขตร้อน มีอุณหภูมิสูง ความชื้นสูง และ ฝนตกมาก









เศรษฐกิจ

บรูไนเป็นประเทศที่ร่ำรวยไปด้วยน้ำมันและก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำรายได้มาสู่ประเทศเป็นอันดับหนึ่ง แต่รัฐบาลบรูไนก็เริ่มตระหนักว่าประเทศชาติจะพึ่งพิงรายได้จากทรัพยากรทั้งสองอย่างเท่านี้ไม่ได้เสียแล้ว แต่ควรหันมาให้ความสนใจกับทรัพยากรธรรมชาติอี่น ๆ ที่ยังคงมีมากมายเช่น ป่าไม้ แร่ธาตุ สัตว์น้ำ และพื้นที่อันอุดมสมบรูณ์เหมาะแก่การเกษตร เพื่อเป็นการเร่งรัดการพัฒนารูปแบบของการลงทุน สุลตานบรูในได้ทรงตั้งกระทรวงขึ้นมาใหม่คือกระทรวงอุตสาหกรรมและทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อทำหน้าที่ดูแลวางแผนและดำเนินงานด้านอุตสาหกรรมและการลงทุนโดยเฉพาะ โครงการอุตสาหกรรมที่ได้รับการสนับสนุนและเร่งรัดส่งเสริมเป็นพิเศษ ได้แก่ อุตสาหกรรมขนาดเล็ก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่สัมพันธ์กับภาคเกษตร ป่าไม้ และการประมง
การดำเนินการช่วงแรกนั้น รัฐบาลมุ่งสนับสนุนโรงงานและอุตสาหกรรมขนาดเล็กในภูมิภาคที่สามารถป้อนผลผลิตให้กับผู้บริโภคในท้องถิ่นก่อนเป็นอันดับแรกแล้วจึงขยายไปสู่การผลิตเพื่อการส่งออกในระยะยาว รัฐบาลได้ตั้ง่ความหวังว่าอุตสหกรรมเหล่านี้จะเป็นแหล่งที่เข้ามาแทนที่อุตสาหกรรมน้ำมันที่อาจหมดไปในอนาคต โดยที่ประชาชนยังมีหลักประกันว่าจะมีงานทำ บรูไนเป็นประเทศที่มั่งคั่งด้วยทรัพยากร ขณะนี้ยังมีประชากรน้อยมาก แต่บรูไนก็ไม่ได้หวังพึ่งพารายได้จากการขายน้ำมันเพียงอย่างเดียว ได้พยายามที่จะพัฒนาประเทศให้พึ่งพาตัวเองได้ อย่างไรก็ตามบรูไนเป็นประเทศที่มีค่าครองชีพสูงมากแห่งหนึ่งของโลก แต่รัฐบาลได้ให้สวัสดิการอย่างดีเลิศแก่ประชาชน อาทิ ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ส่วนบุคคล ค่ารักษาพยาบาลฟรี การศึกษา รัฐให้เล่าเรียนจนถึงระดับชั้นมัธยมศึกษานอกจากนี้ยังมีสวัสดิการแก่ข้าราชการของรัฐ อุตสาหกรรมสำคัญของประเทศ คือ น้ำมัน ส่วนพืชเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าวกล้วย

อุตสาหกรรม

บรูไนมีอุตสาหกรรมอื่น นอกเหนือจากอุตสาหกรรมน้ำมันอยู่บ้าง อาทิ การผลิตอาหาร และปลากระป๋อง

แนวโน้มการพัฒนาทางเศรษฐกิจ

ปัจจุบัน บรูไนกำลังพยายามเปลี่ยนแปลง จากเศรษฐกิจที่พึ่งพาน้ำมันเป็นหลัก ไปสู่โครงสร้างเศรษฐกิจ ที่มีความหลากหลายมากขึ้น เนื่องจากมีการคาดการณ์ว่าปริมาณน้ำมันสำรองที่ยืนยันแล้ว (proven reserve) ของบรูไนจะหมดลงในราวปี พ.ศ. 2558 ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยในเอเชีย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 ทำให้บรูไนเร่งปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจ และใช้มาตรการต่าง ๆ เพื่อสร้างความหลากหลายทางเศรษฐกิจ ได้แก่
  1. จัดตั้งสภาที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจ นำโดยเจ้าชายโมฮาเหม็ด โบลเกียห์ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของบรูไน) ซึ่งมีแนวทางส่งเสริมภาคเอกชน ให้มีบทบาทมากขึ้น ในการส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
  2. ปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ จากเดิมที่เน้นนโยบายให้สวัสดิการ มาเป็นการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ และแปรรูปรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ โดยให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น ขยายฐานการจัดเก็บภาษี
  3. ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การลงทุนในต่างประเทศของ BIA โดยหันมาลงทุนในธุรกิจด้านใหม่ ๆ ซึ่งมีความเสี่ยงต่ำ เช่น การซื้อหุ้นในกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและโทคมนาคม หรือธุรกิจสายการบินต่าง ๆ
  4. แผนพัฒนาแห่งชาติฉบับที่ 8 (The Eighth National Development Plan: 8th NDP) ที่ดำเนินการระหว่างปี พ.ศ. 2544-2548 มีสาระสำคัญ ได้แก่ ตั้งเป้าอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี - GDP) ที่ร้อยละ 5–6 โดยตั้งวงเงินงบประมาณ สำหรับการดำเนินตามแผนฯ ไว้ 7.3 พันล้านดอลลาร์บรูไน ซึ่งคาดว่ากลยุทธ์ทางการพัฒนาใหม่นี้ จะช่วยให้รัฐบาลสร้างสมดุลของงบประมาณได้ดีขึ้น สามารถกำหนดมาตรการในการพัฒนา และฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน สร้างความแข็งแกร่งและการขยายตัวให้กับอุตสาหกรรมน้ำมันและแก๊ส รวมทั้งการพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่าง ๆ พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมและทรัพยากรมนุษย์ รวมทั้งอุตสาหกรรมขนาดเล็กและย่อม การขยายความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน แปรรูปรัฐวิสาหกิจบางกิจการ และสร้างความแข็งแกร่งในระบบการเงินและการคลัง นอกจากนี้ รัฐบาลบรูไนยังยึดแนวคิดของวิธีการปกครองที่ดี (Good Governance) รวมทั้งเน้นการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับภาคเอกชน
  5. ส่งเสริมการลงทุนกับต่างประเทศ และมีมาตรการเปิดเสรีด้านการค้า และสร้างบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุน ไม่เฉพาะแต่บริษัทในประเทศ แต่รวมถึงประเทศต่าง ๆ จากกลุ่มอาเซียน และนานาประเทศ
  6. พัฒนาประเทศให้เป็นศูนย์บริการการค้าและการท่องเที่ยว (Service Hub for Trade and Tourism -SHuTT 2003 Vision) และเป็นตลาดการขนถ่ายสินค้าที่สำคัญของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นเป้าหมายประการหนึ่งของโครงการความร่วมมือของกลุ่ม Brunei Indonesia Malaysia Philippines-East ASEAN Growth Area (BIMP-EAGA)
  7. สร้างความแข็งแกร่งทางการเงิน เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและเอื้ออำนวยต่อโครงการพัฒนาเศรษฐกิจและสาธารณูปโภคพื้นฐาน นอกจากนี้ จากการที่บรูไนได้กำหนดแผนพัฒนาประเทศให้เป็นศูนย์กลางการเงินนานาชาติ (Brunei International Financial Center : BIFC) โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะยกระดับประเทศ ในด้านการบริการการเงินในระดับนานาชาติ กระจายความหลากหลายทางเศรษฐกิจ และสร้างงานให้กับประชาชน

ประชากร

เชื้อชาติ

เชื้อชาติในประเทศบรูไน
เชื้อชาติร้อยละ
มาเลย์
  
67%
จีน
  
15%
อื่น ๆ
  
18%
ในปี ค.ศ. 2007 ประเทศบรูไนมีประชากรประมาณ 374,577 คน เป็นเชื้อชาติมาเลย์ 250,967 คน (67%) จีน 56,187 คน (15%) และอื่น 67,424 คน (18%) อัตราการเพิ่มประชากรเฉลี่ยปีละ 3.5 %

ศาสนา

ดูบทความหลักที่: ศาสนาในประเทศบรูไน
ศาสนาในประเทศบรูไน
ศาสนาร้อยละ
อิสลาม
  
67%
พุทธ
  
13%
คริสต์
  
10%
อื่น ๆ และอศาสนา
  
10%

มัสยิดโอมาร์ อาลี ไซฟัดดิน
ในปี ค.ศ. 2011[3] ประเทศบรูไนมีผู้นับถือศาสนา แบ่งได้ดังนี้ ศาสนาอิสลามนิกายซุนนี 67% ศาสนาพุทธนิกายมหายาน13% ศาสนาคริสต์ 10% ศาสนาอื่น ๆ และอศาสนา 10%

ภาษา

ประเทศบรูไนใช้ภาษามาเลย์ (Bahasa Melayu) เป็นภาษาราชการ ส่วนภาษาอังกฤษและภาษาจีนเป็นภาษารองที่ใช้สื่อสารกันแพร่หลาย

ดูเพิ่ม





ที่มา
ประเทศบรูไน